22.11.50

อายะฮฺ 284

لِلَّهِ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ وَإِنْ تُبْدُوا مَا فِي أَنْفُسِكُمْ أَوْ تُخْفُوهُ يُحَاسِبْكُمْ بِهِ اللَّهُ فَيَغْفِرُ لِمَنْ يَشَاءُ وَيُعَذِّبُ مَنْ يَشَاءُ وَاللَّهُ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ
284. สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้า และสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้น เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ และถ้าหากพวกเจ้าเปิดเผยสิ่งที่อยู่ในใจของพวกเจ้าหรือปกปิดมันไว้ก็ตาม อัลลอฮฺจะทรงนำสิ่งนั้นมาชำระสอบสวนแก่พวกเจ้า แล้วพระองค์จะทรงอภัยโทษแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และจะทรงลงโทษแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง




อายะฮฺนี้พูดถึงการสอบสวนในสิ่งที่เรากระทำไม่ว่าจะเปิดเผยหรือปกปิดก็ตาม อายะฮฺต่อไปอัลลอฮฺสอนให้เราขออภัยโทษในสิ่งที่เราปกปิด จึงมีทัศนะว่าอายะฮฺที่ 284 นี้ถูกยกเลิก (คือการสอบสวนสิ่งที่เราคิดในใจ เช่น คิดจะดื่มเหล้าแต่ไม่ได้บอกใคร)

مَنْ قَالَ إِنَّ الآيَةَ مَنْسُوْخَة


روى مسلم في صحيحه عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ لَمَّا نَزَلَتْ عَلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ { لِلَّهِ مَا فِي السَّمَوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ وَإِنْ تُبْدُوا مَا فِي أَنْفُسِكُمْ أَوْ تُخْفُوهُ يُحَاسِبْكُمْ بِهِ اللَّهُ فَيَغْفِرُ لِمَنْ يَشَاءُ وَيُعَذِّبُ مَنْ يَشَاءُ وَاللَّهُ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ } قَالَ فَاشْتَدَّ ذَلِكَ عَلَى أَصْحَابِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَأَتَوْا رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثُمَّ بَرَكُوا عَلَى الرُّكَبِ فَقَالُوا أَيْ رَسُولَ اللَّهِ كُلِّفْنَا مِنْ الْأَعْمَالِ مَا نُطِيقُ الصَّلَاةَ وَالصِّيَامَ وَالْجِهَادَ وَالصَّدَقَةَ وَقَدْ أُنْزِلَتْ عَلَيْكَ هَذِهِ الْآيَةُ وَلَا نُطِيقُهَا قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَتُرِيدُونَ أَنْ تَقُولُوا كَمَا قَالَ أَهْلُ الْكِتَابَيْنِ مِنْ قَبْلِكُمْ سَمِعْنَا وَعَصَيْنَا بَلْ قُولُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ الْمَصِيرُ قَالُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ الْمَصِيرُ فَلَمَّا اقْتَرَأَهَا الْقَوْمُ ذَلَّتْ بِهَا أَلْسِنَتُهُمْ فَأَنْزَلَ اللَّهُ فِي إِثْرِهَا { آمَنَ الرَّسُولُ بِمَا أُنْزِلَ إِلَيْهِ مِنْ رَبِّهِ وَالْمُؤْمِنُونَ كُلٌّ آمَنَ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ لَا نُفَرِّقُ بَيْنَ أَحَدٍ مِنْ رُسُلِهِ وَقَالُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ الْمَصِيرُ } فَلَمَّا فَعَلُوا ذَلِكَ نَسَخَهَا اللَّهُ تَعَالَى فَأَنْزَلَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ { لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا لَهَا مَا كَسَبَتْ وَعَلَيْهَا مَا اكْتَسَبَتْ رَبَّنَا لَا تُؤَاخِذْنَا إِنْ نَسِينَا أَوْ أَخْطَأْنَا } قَالَ نَعَمْ { رَبَّنَا وَلَا تَحْمِلْ عَلَيْنَا إِصْرًا كَمَا حَمَلْتَهُ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِنَا } قَالَ نَعَمْ { رَبَّنَا وَلَا تُحَمِّلْنَا مَا لَا طَاقَةَ لَنَا بِهِ } قَالَ نَعَمْ { وَاعْفُ عَنَّا وَاغْفِرْ لَنَا وَارْحَمْنَا أَنْتَ مَوْلَانَا فَانْصُرْنَا عَلَى الْقَوْمِ الْكَافِرِينَ } قَالَ نَعَمْ

ท่านอิหม่ามมุสลิมบันทึกในหนังสือของท่านรายงานโดยอบูหุรอยเราะฮฺว่า เมื่ออายะฮฺนี้ถูกประทานมายังท่านนบีแล้ว ซึ่งมีเนื้อหาว่าอัลลอฮฺจะสอบสวนสิ่งที่อยู่ในใจที่ปกปิดด้วย ก็เป็นความทุกข์อันใหญ่หลวงของบรรดาเศาะฮาบะฮฺ พวกเขาจึงมาหาท่านนบีในสภาพที่ทุกข์ใจมาก กล่าวว่า "โอ้ท่านร่อซูลของอัลลอฮฺ เราได้ถูกใช้กระทำบางสิ่งบางอย่างที่เราสามารถปฏิบัติได้ คือ การละหมาด ถือศีลอด ญิฮาด และบริจาคทาน แต่อายะฮฺนี้ถูกประทานลงมายังท่าน เราแบกไม่ไหว" (คือจะให้อัลลอฮฺสอบสวนสิ่งที่เราคิดอยู่ในใจนั้นพวกเราแบกไม่ไหว)

ท่านนบีจึงตอบว่า "พวกท่านอยากจะพูดเหมือนชาวคัมภีร์สองคัมภีร์(คือยะฮูดและนะศอรอ)ที่มาก่อนหน้าพวกท่านกระนั่นหรือ ซึ่งพวกเขากล่าวว่า เราได้ยินแล้วแต่เราฝ่าฝืน" พวกเขาตอบว่า "ไม่ใช่เช่นนั้นเลย" ท่านนบีจึงกล่าวว่า "ดังนั้นก็จงกล่าวว่า เราได้ยินแล้วและเราเชื่อฟังแล้ว ความอภัยโทษของพระองค์ย่อมเป็นความปรารถนาของพวกเรา โอ้พระเจ้าของเรา และยังพระองค์นั้นคือการกลับไป(อายะฮฺที่ 285)" เมื่อท่านนบีแนะนำดังนั้นพวกเขาจึงกล่าวตาม เมื่อเขาได้กล่าวดุอาอฺบทนี้แล้ว ลิ้นของพวกเขา(ผู้ศรัทธา)ก็ได้เคยชินกับประโยคนี้ และกล่าวบ่อยๆ เพราะมันน้อมรับประโยคนี้ พอเศาะฮาบะฮฺกล่าวประโยคนี้บ่อยๆ อัลลอฮฺได้เห็นความนอบน้อมและแสดงความต่ำต้อยต่อพระบัญชาของพระองค์ จึงทรงประทานอีกอายะฮฺหนึ่งลงมาเพื่อให้รางวัลแก่พวกเขา คืออายะฮฺที่ 285 ซึ่งมีเนื้อหายกย่องผู้ศรัทธาที่ยอมรับพระบัญชาของพระองค์ และในอายะฮฺที่ 286 อัลลอฮฺตรัสว่า พระองค์จะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น และสอนให้ขอดุอาอฺว่า "โปรดอย่าเอาโทษในสิ่งที่เราลืมหรือผิดพลาดไป" เศาะฮาบะฮฺก็ได้กล่าวตามที่อัลลอฮฺสอนพวกเขา อัลลอฮฺก็ตอบว่า ได้ "โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าได้บรรทุกภาระหนักใดๆแก่พวกเรา เช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบรรทุกมัน แก่บรรดาผู้ที่อยู่ก่อนหน้าพวกเรามาแล้ว" อัลลอฮฺตอบว่า ได้ "โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าให้พวกเราแบกสิ่งที่ไม่มีกำลังใดๆแก่พวกเราจะแบกมันได้ " อัลลอฮฺตอบว่า ไ้ด้ ้"และโปรดได้ทรงอภัยแก่พวกเราและยกโทษให้แก่พวกเรา และเมตตาแก่พวกเราด้วยเถิด พระองค์นั้นคือผู้ปกครองของพวกเรา ดังนั้นโปรดได้ทรงช่วยเหลือพวกเราให้ได้รับชัยชนะเหนือกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธาด้วยเถิด" (อายะฮฺที่ 286) อัลลอฮฺตอบว่า ได้.

หะดีษนี้เป็นหลักฐานว่าอัลลอฮฺได้ยกเลิกการสอบสวนสิ่งที่อยู๋ในจิตใจ และมีอีกหะดีษหนึ่งที่สอดคล้องกับทัศนะนี้คือ


حَدِيْثُ النَّفْسِ

رَوَى الْجَمَاعَة فِي كُتُبهمْ السِّتَّة مِنْ طَرِيق قَتَادَة عَنْ زُرَارَة بْن أَبِي أَوْفَى عَنْ أَبِي هُرَيْرَة قَالَ : قَالَ رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - " إِنَّ اللَّه تَجَاوَزَ لِي عَنْ أُمَّتِي مَا حَدَّثَتْ بِهِ أَنْفُسهَا مَا لَمْ تَكَلَّم أَوْ تَعْمَل " . وَفِي الصَّحِيحَيْنِ مِنْ حَدِيث سُفْيَان بْن عُيَيْنَة عَنْ أَبِي الزِّنَاد عَنْ الْأَعْرَج عَنْ أَبِي هُرَيْرَة قَالَ : قَالَ رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - " قَالَ اللَّه إِذَا هَمَّ عَبْدِي بِسَيِّئَةٍ فَلَا تَكْتُبُوهَا عَلَيْهِ فَإِنْ عَمِلَهَا فَاكْتُبُوهَا سَيِّئَة وَإِذَا هَمَّ بِحَسَنَةٍ فَلَمْ يَعْمَلهَا فَاكْتُبُوهَا حَسَنَة فَإِنْ عَمِلَهَا فَاكْتُبُوهَا عَشْرًا " لَفْظ مُسْلِم

อัลญะมาอะฮฺ (หมายถึง 7 ท่านคือ อิหม่ามบุคอรียฺ มุสลิม อบูดาวู้ด นะซาอียฺ ติรมีซียฺ อิบนุมาญะฮฺ อะหมัด, แต่บางตำราหมายถึง 6 ท่าน ไม่รวมอะหมัด, ในที่นี้อิบนิกะษีรหมายถึง 6 ท่าน) ในตำรา 6 เล่มของพวกเขามีบันทึกว่า

ท่านอบูหุรอยเราะฮฺ รายงานว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮฺทรงยกโทษ(ไม่เอาโทษ-ตะญาวัซ)สำหรับประชาชาติของฉันในสิ่งที่เขาได้พูดคุยในใจ ยกเว้นกรณีที่เป็นความคิดในใจได้ปรากฏเป็นคำพูด(ตะกัลลัม)หรือการกระทำ(ตะอฺมัล)"

หะดีษนี้ชัดเจนว่าสิ่งที่อยู่ในใจตราบใดไม่ออกมาเป็นคำพูดหรือการกระทำอัลลอฮฺก็ไม่เอาโทษ สอดคล้องกับอายะฮฺที่ 286 ว่า "ลายุกัลลิฟุลลอฮุ...)

ในการบันทึกของอิหม่ามบุคอรียฺและมุสลิม(อัศเศาะฮีฮัยนฺ) รายงานจากอบูหะรอยเราะฮฺว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "(หะดีษกุดซียฺ) อัลลอฮฺดำรัสว่า หากบ่าวของข้าได้ตั้งใจ(ปรารถนา)ที่จะทำความผิด อัลลอฮฺได้บอกกับมะลาอิกะฮฺว่าจงอย่าบันทึกให้เขา(ในสิ่งที่เขาคิดจะทำความชัว) หากเขาได้ทำมันแล้วก็จงบันทึกมันเป็น 1 ความผิด หากเขาปรารถนาในความดีแต่ไม่ได้กระทำมัน ก็จงบันทึกเป็น 1 ความดี (หะดีษอีกบทมีเนื้อหาว่าว่า "ถ้านึกจะทำความชั่วแล้วไม่ได้ทำเพราะกลัวอัลลอฮฺ ก็จะบันทึกเป็น 1 ความดี) และสำหรับการนึกทำความดีและได้กระทำมันก็ให้บันทึก 10 ความดี" นี่คือสำนวนในบันทึกของอิหม่ามมุสลิม

อุละมาอฺได้บอกว่า ถ้าตั้งใจจะทำและถ้าไม่มีอุปสรรคใดๆมาขวางกั้นก็จะทำแน่ๆ ถือเป็นความผิด เช่น ถือศีลอดเดือนรอมฎอน หิวน้ำมากแล้วไม่มีน้ำจะกิน แต่ในใจคิดว่าถ้ามีน้ำก็กินแน่ อย่างนี้อุละมาอฺถือว่าเสียบวช, หรือคนเป็นมุสลิม ตั้งใจว่าวันนี้สามทุ่มจะเลิกเป็นมุสลิม การตั้งใจนี้ถือว่ามีผลคือเป็นมุรตัด แม้จะไม่ได้พูด เป็นความผิดระหว่างเขากับอัลลอฮฺ เป็นต้น, เรื่องนี้อุละมาอฺยึดถือจากตัวบทหะดีษที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "มุสลิมสองคนปะทะกันด้วยดาบ(หรืออาวุธอื่นก็ตาม) ผู้ฆ่าและผู้ถูกฆ่าอยู่ในนรก(ทั้งคู่)" เศาะฮาบะฮฺถามว่า เหตุใดคนที่ถูกฆ่าจึงเข้านรก? นบีตอบว่า "พยายามจะฆ่าเขา (มีความตั้งใจจะฆ่า)"

ก็แสดงว่าสิ่งที่อยู่ในใจของเรามีหลายระดับ อุละมาอฺบอกว่าได้แก่
  • ฮาญิซ - สิ่งที่แวบๆ ในความคิด เช่น ความคิดจะดื่มเหล้า แล้วก็ผ่านไป
  • คอติร - สิ่งที่ผ่านในความคิดอย่างช้าๆ เช่น ความคิดจะดื่มเหล้า ยี่ห้ออะไรดี?
  • หะดีษุน - พูดคุยกับตนเอง มีวางแผนว่าจะทำ คิดว่าจะเอาเงินจากไหนไปซื้อ แต่ยังไม่ได้ทำ
  • ฮัมมะ - ปรารถนา (นี่คือในหะดีษข้างต้น) อยากจะทำ แต่ยังไม่ถึง "ตั้งใจ" ("ฮัมมะ"นี่คือระดับที่นบีสอนว่าให้อิสติคอเราะฮฺในสิ่งที่ตำแหน่งเสมอกัน (ไม่ใช่ในการทำความชั่วหรือฝ่าฝืน) )
  • อัลอัซมุ - ตั้งใจที่จะทำ -- อันนี้แหละที่อุละมาอฺบอกว่ามีโทษ

مَنْ قَالَ إِنَّ الآيَةَ لَيْسَتْ مَنْسُوْخَة


وَرَوَى اِبْن جَرِير عَنْ مُجَاهِد وَالضَّحَّاك نَحْوه وَعَنْ الْحَسَن الْبَصْرِيّ أَنَّهُ قَالَ : هِيَ مُحْكَمَة لَمْ تُنْسَخ وَاخْتَارَ اِبْن جَرِير ذَلِكَ وَاحْتَجَّ عَلَى أَنَّهُ لَا يَلْزَم مِنْ الْمُحَاسَبَة الْمُعَاقَبَة وَأَنَّهُ تَعَالَى قَدْ يُحَاسِب وَيَغْفِر وَقَدْ يُحَاسِب وَيُعَاقِب بِالْحَدِيثِ الَّذِي رَوَاهُ عَنْ قَتَادَة عَنْ صَفْوَان بْن مُحْرِز قَالَ : بَيْنَمَا نَحْنُ نَطُوف بِالْبَيْتِ مَعَ عَبْد اللَّه بْن عُمَر وَهُوَ يَطُوف إِذَا عَرَضَ لَهُ رَجُل فَقَالَ يَا اِبْن عُمَر مَا سَمِعْت رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - يَقُول فِي النَّجْوَى ؟ قَالَ سَمِعْت رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - يَقُول " يَدْنُو الْمُؤْمِن مِنْ رَبّه عَزَّ وَجَلَّ حَتَّى يَضَع عَلَيْهِ كَنَفه فَيُقَرِّرهُ بِذُنُوبِهِ فَيَقُول لَهُ هَلْ تَعْرِف كَذَا فَيَقُول رَبّ أَعْرِف مَرَّتَيْنِ حَتَّى إِذَا بَلَغَ بِهِ مَا شَاءَ اللَّه أَنْ يَبْلُغ قَالَ فَإِنِّي قَدْ سَتَرْتهَا عَلَيْك فِي الدُّنْيَا وَإِنِّي أَغْفِرهَا لَك الْيَوْم قَالَ فَيُعْطَى صَحِيفَة حَسَنَاته أَوْ كِتَابه بِيَمِينِهِ وَأَمَّا الْكُفَّار وَالْمُنَافِقُونَ فَيُنَادَى بِهِمْ عَلَى رُءُوس الْأَشْهَاد " هَؤُلَاءِ الَّذِينَ كَذَبُوا عَلَى رَبِّهِمْ أَلَا لَعْنَةُ اللَّهِ عَلَى الظَّالِمِينَ " وَهَذَا الْحَدِيث مُخَرَّجٌ فِي الصَّحِيحَيْنِ وَغَيْرهمَا مِنْ طُرُق مُتَعَدِّدَة .

มีอีกทัศนะหนึ่งที่บอกว่าอายะฮฺที่ 284 นี้ไม่ได้ถูกยกเลิก

ท่านอิบนิญะรีรเลือกทัศนะนี้ว่ามีน้ำหนัก โดยอ้างว่าที่อัลลอฮฺบอกว่า "ถ้าพวกท่านปกปิดสิ่งที่อยู่ในใจอัลลอฮฺจะสอบสวน" แต่ไม่จำเป็นว่าจะลงโทษ อัลลอฮฺอาจสอบสวนจริง แต่อาจอภัยโทษก็ได้หรืออาจจะลงโทษก็ได้

มีหะดีษหนึ่ง ท่านศ็อฟวานอิบนิมุหฺริซกล่าวว่า ขณะเรากำลังฏอวาฟ มีชายคนหนึ่งมาดัก อับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร ถามว่า ท่านได้ยินท่านนบีพูดอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนัจญฺวา (การพูดคุยระหว่างอัลลอฮฺกับผู้ศรัทธาในทางลับคือไม่เปิดเผย) ? (แสดงว่าขณะฏอวาฟคุยเรื่องศาสนาได้) ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัรตอบว่า มุอฺมินจะเข้าเฝ้าใกล้องค์พระผู้อภิบาลผู้ทรงสูงส่งของเขา จนกระทั่งอัลลอฮฺตะอาลาจะได้ให้ความอบอุ่นความเมตตาปรากฏกับเขา และเผยซึ่งความผิดของเขา "รู้มั้ยสิ่งที่ท่านทำนี้?" มุอฺมินก็จะกล่าวว่า "ข้าพเจ้ารู้ ๆ (ว่าข้าพเจ้าได้ทำ)" อัลลอฮฺก็บอกว่า แท้จริงฉันได้ปกปิดความชั่วที่เจ้าได้ทำในดุนยาแล้ว และแท้จริงฉันจะอภัยให้แก่เจ้าในวันนี้" แล้วอัลลอฮฺก็จะประทานสมุดบันทึกความดีของเขาด้วยมือขวา (อันเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นชาวสวรรค์) แต่พวกปฏิเสธศรัทธาและมุนาฟิก จะถูกประกาศเหนือศีรษะบรรดามนุษยชาติทั้งหลาย คือ พวกตกแหละ คนที่โกหก หมกเม็ด ต่อพระเจ้าของเขา การสาปแช่งจงประสบแก่ผู้ที่อธรรม -- หะดีษนี้บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรียฺและมุสลิม

จากหะดีษนี้แสดงว่าอัลลอฮฺจะสอบสวน แล้วอาจจะอภัยโทษหรือลงโทษ แล้วแต่พระประสงค์ของพระองค์ ทัศนะนี้ค่อนข้างมีน้ำหนักมากกว่า คืออายะฮฺที่ 284 นี้ไม่ได้ถูกยกเลิก แต่สามารถรวมทั้งสองอายะฮฺเข้าด้วยกันได้

อุละมาอฺบอกว่าหากมีสองทัศนะคือ อายะฮฺนี้ถูกยกเลิก และทัศนะที่ว่าอายะฮฺนี้ไม่ถูกยกเลิกและสามารถรวมสองอายะฮฺเข้าด้วยกันได้ ให้เอาทัศนะหลังนี้ดีกว่า เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะบอกว่าอัลกุรอานถูกยกเลิก เว้นแต่มีหลักฐานชัดเจน ซึ่งในอายะฮฺนี้การถูกยกเลิกเป็นทัศนะของเศาะฮาบะฮฺเท่านั้น เราจึงควรยึดเอาทัศนะที่ว่าไม่ได้ถูกยกเลิกไว้ดีกว่า


ไม่มีความคิดเห็น: