21.11.50

อายะฮฺ 255 (1)

بسم الله الرحمن الرحيم
ตัฟซีรุซูเราะติลบะเกาะเราะฮฺ
تفسير سورة البقرة الآية 255

วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2550

اللّهُ لاَ إِلَـهَ إِلاَّ هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّومُ لاَ تَأْخُذُهُ سِنَةٌ وَلاَ نَوْمٌ لَّهُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الأَرْضِ مَن ذَا الَّذِي يَشْفَعُ عِنْدَهُ إِلاَّ بِإِذْنِهِ يَعْلَمُ مَا بَيْنَ أَيْدِيهِمْ وَمَا خَلْفَهُمْ وَلاَ يُحِيطُونَ بِشَيْءٍ مِّنْ عِلْمِهِ إِلاَّ بِمَا شَاء وَسِعَ كُرْسِيُّهُ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضَ وَلاَ يَؤُودُهُ حِفْظُهُمَا وَهُوَ الْعَلِيُّ الْعَظِيمُ ﴿255 ﴾

255. อัลลอฮฺนั้นคือไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใด ๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงมีชีวิต ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลาย โดยที่การง่วงนอน และการนอนหลับใด ๆ จะไม่เอาพระองค์ สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้นเป็นของพระองค์ ใครเล่าคือผู้ที่จะขอความช่วยเหลือให้แก่ผู้อื่น ณ ที่พระองค์ได้ นอกจากด้วยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าของพวกเขา และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของพวกเขา และพวกเขาจะไม่ล้อมสิ่งใดจากความรู้ของพระองค์ไว้ได้ นอกจากสิ่งที่พระองค์ประสงค์เท่านั้น เก้าอี้พระองค์นั้นกว้างขวางทั่วชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และการรักษามันทั้งสองก็ไม่เป็นภาระหนักแก่พระองค์ และพระองค์นั้นคือผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงยิ่งใหญ่





ตอนที่ 1-2, ตอนที่ 1-3

การทำความเข้าใจอัลกุรอานก็เพื่อให้อัลกุรอานมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของเรา อายะตุลกุรซียฺเป็นข้อพิสูจน์และเครื่องวัดอีมานของมุสลิมอย่างเป็นรูปธรรม อัลลอฮฺบอกไว้ว่าอายะฮฺนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษกว่าอายะฮฺอื่นๆ เราก็ต้องให้อายะฮฺนี้มีอิทธิพล(มีอำนาจ)ต่อชีวิตเรามากกว่าอายะฮฺอื่น ความสำคัญของอัลกุรอานไม่ได้อยู่ที่จำนวนคนท่องจำหรือจำนวนเล่มอัลกุรอาน หรือเทปซีดีกุรอานที่มีมากมาย แต่อยู่ที่การให้อัลกุรอานได้แสดงถึงพระบารมีของอัลลอฮฺในโลกนี้จริง แล้วใครที่จะเป็นผู้สืบทอดพระดำรัสของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา(อันเป็นรูปแบบของบารมีของพระองค์)นอกจากผู้ศรัทธา ซึ่งอัลลอฮฺเรียกว่า เคาะลีฟะฮฺ ตัวแทนของอัลลอฮฺที่จะแสดงอำนาจของพระองค์ในโลกนี้ด้วยการให้อัลกุรอานประจักษ์ ด้วยหลักการ คำสั่งสอน สัจธรรม ศรัทธา และบทบัญญัติของอัลกุรอาน

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1924 คิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺได้ถูกทำลายลง จะทบทวนเรื่องนี้ ในแง่ของระบอบการปกครองที่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การตั้งรัฐอิสลามเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการเป็นตัวแทนของอัลลอฮฺด้วยการปฏิบัติตามหลักการของพระองค์ เมื่อใดที่อัลกุรอานไม่มีผลในการชี้นำสังคม ก็เปรียบเหมือนเป็นละครสมมติอันเป็นเป้าหมายของพวกเซคิวลาร์ที่ต้องการแยกศาสนาจากโลก ซึ่งมีรากมาจากนักปรัชญาซึ่งมีสมมติฐานว่าศาสนาทั้งหมดล้วนเป็นอุปมา อัลลอฮฺจะพูดกับประชาชาติก็ต้องใช้ภาษาง่ายๆ ก็บอกว่าใครขโมยก็ตัดมือ ใครทำซินาก็ให้เฆี่ยน แต่อัลลอฮฺไม่ได้ต้องการแบบนั้น อัลลอฮฺกล่าวอะไรให้ใช้สมองคิด อย่าใช้บทบัญญัติ นั่นคือทัศนะของพวกเซคิวลาร์


ความประเสริฐของอายะตุลกุรซียฺ

อายะฮฺ - โองการ
กุรซียฺ - เก้าอี้ ซึ่งในเนื้อหาอายะฮฺนี้มีกล่าวถึง กุรซี คือเก้าอี้ของอัลลอฮฺตะอาลา อันเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ที่อัลลอฮฺสร้างไว้ จึงเป็นชื่อของอายะฮฺนี้และเป็นที่รู้กันตั้งแต่สมัยท่านนบี

มีหะดีษหลายบทกล่าวถึงความประเสริฐของอายะฮฺนี้ และมีบางบทที่ไม่น่าเชื่อถือ อิม่ามอิบนิกะซีรก็ได้คัดเลือกบทที่น่าเชื่อถือคือ



أفضل آية في كتاب الله

هَذِهِ آيَةُ الْكُرْسِيّ وَلَهَا شَأْن عَظِيم قَدْ صَحَّ الْحَدِيث عَنْ رَسُول - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - بِأَنَّهَا أَفْضَل آيَة فِي كِتَاب اللَّه . عَنْ أُبَيّ هُوَ اِبْن كَعْب أَنَّ النَّبِيّ - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - سَأَلَهُ أَيّ آيَة فِي كِتَاب اللَّه أَعْظَم قَالَ : اللَّه وَرَسُوله أَعْلَم فَرَدَّدَهَا مِرَارًا ثُمَّ قَالَ : آيَة الْكُرْسِيّ قَالَ " لِيَهْنِك الْعِلْم أَبَا الْمُنْذِر وَاَلَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ إِنَّ لَهَا لِسَانًا وَشَفَتَيْنِ تُقَدِّس الْمَلِك عِنْد سَاقَ الْعَرْش " . رَوَاهُ أحمد ومُسْلِم


มีหะดีษที่น่าเชื่อถือจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า อายะตุลกุรซียฺเป็นอายะฮฺที่ประเสริฐที่สุดในอัลกุรอาน อัลกุรอานนั้นประเสริฐอยู่แล้วแต่สำหรับอายะฮฺที่ประเสริฐและมีความสำคัญมากกว่าอายะฮฺอื่น การไม่ให้ความสำคัญกับอายะฮฺนั้นเป็นพิเศษก็เป็นเรื่องไม่ปกติ ฮิกมะฮฺของการที่อัลลอฮฺให้มีบางอายะฮฺประเสริฐกว่าอายะฮฺอื่น เราก็ต้องเชื่อ ซึ่งเป็นความเชื่อของอะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ แต่มีบางกลุ่มที่ไม่เชื่อตามนั้น เพราะคิดว่าดำรัสของอัลลอฮฺตะอาลาต้องสูงส่งทั้งหมด ไม่มีส่วนใดสูงหรือต่ำกว่าส่วนอื่น อัลลอฮฺตะอาลามีเจตนารมณ์ที่จะให้ผู้ศรัทธาได้สัมผัสบางเรื่องบางเนื้อหาที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่น

อุละมาอฺกล่าวว่า อายะตุลกุรซียฺทั้งอายะฮฺมีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณลักษณะ(ศิฟาต) พระนาม เดชานุภาพ และบารมีของอัลลอฮฺ ย่อมประเสริฐกว่าอายะฮฺที่มีเนื้อหาในเรื่องอื่น ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับที่อุละมาอฺอธิบายว่าทำไมท่านนบีจึงกล่าวว่า ซูเราะตุลอิคลาศเป็นหนึ่งในสามของอัลกุรอาน เมื่อท่านนบีพูดแล้วว่าเป็นอายะฮฺที่ยิ่งใหญ่ก็ไม่มีทัศนะใดๆที่จะมาลบล้างทัศนะของท่านนบี

อิมามอิบนิกะษีรได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ท่านนบีได้ถามท่านอุบัยยฺว่า "อายะฮฺใดในอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" อุบัยยฺก็ตอบว่า "อัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ย่อมรู้มากกว่า" ท่านนบีก็ถามย้ำหลายครั้ง อุบัยยฺจึงตอบว่า อายะตุลกุรซียฺ (ก็แสดงว่าอุบัยยฺรู้คำตอบตั้งแต่แรก แต่ไม่ตอบ อุละมาอฺกล่าวว่า เรื่องนี้แสดงถึงมารยาทระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ว่า ไม่สมควรที่จะรีบตอบคำถามของอาจารย์ เพื่อให้เกียรติ,ไม่เป็นการโอ้อวดและไม่เสนอตัวกับความเสี่ยง(ต่อการแสดงความโง่เขลา) เป็นมารยาทของผู้แสวงหาความรู้คือให้ฟังมากกว่าพูด - สะลัฟท่านหนึ่งชื่อว่า อะฏออฺ ถูกถามว่าทำไมท่านไม่ค่อยพูดเลย ? เขาตอบว่า อัลลอฮฺให้ฉันมีสองหูและลิ้นเดียว เพื่อสอนฉันว่า จำนวนที่จะพูดเนี่ยให้เป็นครึ่งหนึ่งของเนื้อหาที่ฟังมา คือให้คัดเลือกสิ่งที่จะพูด ให้พูดน้อย

ด้วยมารยาท อุบัยยฺรู้คำตอบอยู่แล้วแต่ไม่ตอบ จนท่านนบีต้องถามหลายครั้งจึงได้ยอมตอบ ท่านนบีก็ได้สรรเสริญอุบัยยฺว่า "ขอแสดงความยินดีในความรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่ท่านมี โอ้อบุลมุนซิร" เพราะอุบัยยฺทราบคำตอบด้วยการวินิจฉัยเองอย่างลึกซึ้ง ซึ่งตรงกับความเป็นจริง ณ ที่อัลลอฮฺและที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตรงนี้อุละมาอฺได้บอกว่า ความรู้ที่แท้จริงคือความรู้ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺและร่อซูล แสดงว่าความรู้ที่ไม่สอดคล้องก็เป็นความรู้ที่ไม่แท้จริง

การศึกษาในมัซหับต่างๆ จะเน้นศึกษาคำพูดหรือข้อวินิจฉัย(ทัศนะ)ของอิมามมัซหับและยึดเป็นหลักฐาน(ตัวบท) โดยไม่เน้นพระดำรัสอัลลอฮฺหรือหะดีษของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพราะยึดถือว่าระดับอิมามซึ่งเป็จมุจญฺตะหิดเท่านั้นที่จะศึกษาจากอัลกุรอานและอัลหะดีษ สำหรับคนทั่วไปให้ยึดจากข้อวินิจฉัยของอิมามมัซหับอีกทีหนึ่ง บางคนใช้ชีวิตสามสิบปีเพื่อวิเคราะห์ทัศนะของอิมามชาฟิอีทุกเล่ม แต่กลับไม่มีความรู้เกี่ยวกับอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺ ทั้งๆ ที่ท่านนบีรับรองไว้แล้วว่าความรู้ที่น่าภูมิใจคือความที่นำมาจากแสงสว่างอันแท้ของ "ตะเกียงแห่งวะฮียฺ" (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ตัฟซีรซูเราะตุนนูร อายะฮฺ 35) ซึ่งจะสร้างความสว่างในชีวิตของเรา

لِيَهْنِك الْعِلْم أَبَا الْمُنْذِر وَاَلَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ إِنَّ لَهَا لِسَانًا وَشَفَتَيْنِ تُقَدِّس الْمَلِك عِنْد سَاقَ الْعَرْش

ท่านนบีได้ยึนยันในข้อวินิจฉัยของอุบัยยฺที่ว่า อายะตุลกุรซียฺประเสริฐที่สุด และท่านนบีได้ให้รางวัลโดยอธิบายเพิ่มเติมว่า อายะตุลกุรซียฺนั้นมีลิ้นและมีสองฝีปาก มันจะอยู่ในสภาพนั้นด้วยการสดุดีพระผู้ทรงอำนาจที่ขาพระบัลลังค์ของอัลลอฮฺ (จินตนาการของเราไม่สามารถถึงภาพที่แท้จริงชัดเจนได้ ท่านนบีหมายถึงว่าอายะตุลกุรซียฺมีความสามารถในการสดุดีอัลลอฮฺจริงๆ) ในวันกิยามะฮฺ เมื่อชาวสวรรค์เข้าสวรรค์แล้วและชาวนรกเข้านรกแล้ว อัลลอฮฺจะให้ความตายได้ปรากฏแก่ชาวสวรรค์และชาวนรก เสมือนเป็นแพะตัวหนึ่งและมันจะถูกเชือด และจะมีเสียงประกาศว่า โอ้ชาวสวรรค์ พวกท่านจะอยู่ตลอดกาล และชาวนรกก็อยู่ตลอดกาลเช่นกัน ไม่มีตาย (เรื่องนี้ให้เชื่อตามที่ท่านนบีกล่าวไว้ อย่าไปอธิบายหรือตีความล้ำหน้าท่าน)

ในกฎหมายทั่วไปส่วนสำคัญที่สุดคือมาตราแรกๆ ที่เกี่ยวกับประเทศหรืออาณาจักร เมื่อท่านนบีบอกว่าอายะตุลกุรซียฺยิ่งใหญ่ที่สุด เราก็ต้องมาศึกษาว่ายิ่งใหญ่อย่างไร และจะต้องให้ความเอาใจใส่ เมื่อเริ่มละหมาดเรากล่าว "อัลลอฮุอักบัร - อัลลอฮฺยิ่งใหญ่ ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าอัลลอฮฺ" เมื่อท่านนบีกล่าวว่า อายะตุลกุรซียฺยิ่งใหญ่ คือไม่มีอายะฮฺอื่นยิ่งใหญ่กว่านี้ และต้องให้มีความสำคัญในชีวิตเรา สำคัญกว่าสิ่งอื่นๆ ใครที่ยังไม่ท่องจำอายะฮฺนี้ถือว่าขาดทุน ต่อจากนี้เป็นตัวบทที่กล่าวถึงความสำคัญของอายะตุลกุรซียฺ



آية الكرسي مجيرة من الجن
อายะตุลกุรซียฺให้ความคุ้มครองจากญิน

عَنْ مُحَمَّد بْن سِيرِينَ عَنْ أَبِي هُرَيْرَة قَالَ : وَكَّلَنِي رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - بِحِفْظِ زَكَاة رَمَضَان فَأَتَانِي آتٍ فَجَعَلَ يَحْثُو مِنْ الطَّعَام فَأَخَذْته وَقُلْت : لَأَرْفَعَنَّكَ إِلَى رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - قَالَ : دَعْنِي فَإِنِّي مُحْتَاجٌ وَعَلَيَّ عِيَالٌ وَلِي حَاجَةٌ شَدِيدَةٌ قَالَ فَخَلَّيْت عَنْهُ فَأَصْبَحْت فَقَالَ النَّبِيّ - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - يَا أَبَا هُرَيْرَة مَا فَعَلَ أَسِيرك الْبَارِحَة ؟ قَالَ : قُلْت يَا رَسُول اللَّه شَكَا حَاجَة شَدِيدَة وَعِيَالًا فَرَحِمْته وَخَلَّيْت سَبِيله قَالَ أَمَّا إِنَّهُ قَدْ كَذَبَك وَسَيَعُودُ فَعَرَفْت أَنَّهُ سَيَعُودُ لِقَوْلِ رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - أَنَّهُ سَيَعُودُ فَرَصَدْتُهُ فَجَاءَ يَحْثُو مِنْ الطَّعَام فَأَخَذْته فَقُلْت لَأَرْفَعَنَّكَ إِلَى رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : دَعْنِي فَإِنِّي مُحْتَاج وَعَلَيَّ عِيَال لَا أَعُود فَرَحْمَته وَخَلَّيْت سَبِيله فَأَصْبَحْت فَقَالَ لِي رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - يَا أَبَا هُرَيْرَة مَا فَعَلَ أَسِيرك الْبَارِحَة قُلْت يَا رَسُول اللَّه شَكَا حَاجَة وَعِيَالًا فَرَحْمَته فَخَلَّيْت سَبِيله قَالَ أَمَّا إِنَّهُ قَدْ كَذَبَك وَسَيَعُودُ فَرَصَدْته الثَّالِثَة فَجَاءَ يَحْثُو مِنْ الطَّعَام فَأَخَذْته فَقُلْت لَأَرْفَعَنَّكَ إِلَى رَسُول اللَّه بِهَا وَهَذَا آخِر ثَلَاث مَرَّات أَنَّك تَزْعُم أَنَّك لَا تَعُود ثُمَّ تَعُود فَقَالَ : دَعْنِي أُعَلِّمك كَلِمَات يَنْفَعك اللَّه بِهَا قُلْت وَمَا هِيَ ؟ قَالَ : إِذَا أَوَيْت إِلَى فِرَاشك فَاقْرَأْ آيَة الْكُرْسِيّ " اللَّه لَا إِلَه إِلَّا هُوَ الْحَيّ الْقَيُّوم " حَتَّى تَخْتِم الْآيَة فَإِنَّك لَنْ يَزَال عَلَيْك مِنْ اللَّه حَافِظ وَلَا يَقْرَبك شَيْطَان حَتَّى تُصْبِح فَخَلَّيْت سَبِيله فَأَصْبَحْت فَقَالَ لِي رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - مَا فَعَلَ أَسِيرك الْبَارِحَة ؟ قُلْت يَا رَسُول اللَّه زَعَمَ أَنَّهُ يُعَلِّمنِي كَلِمَات يَنْفَعنِي اللَّه بِهَا فَخَلَّيْت سَبِيله قَالَ : مَا هِيَ ؟ قَالَ : قَالَ لِي إِذَا أَوَيْت إِلَى فِرَاشك فَاقْرَأْ آيَة الْكُرْسِيّ مِنْ أَوَّلهَا حَتَّى تَخْتِم الْآيَة " اللَّه لَا إِلَه إِلَّا هُوَ الْحَيّ الْقَيُّوم" وَقَالَ لِي لَنْ يَزَال عَلَيْك مِنْ اللَّه حَافِظ وَلَا يَقْرَبك شَيْطَان حَتَّى تُصْبِح وَكَانُوا أَحْرَص شَيْء عَلَى الْخَيْر فَقَالَ النَّبِيّ - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - أَمَّا إِنَّهُ صَدَقَك وَهُوَ كَذُوب تَعْلَم مَنْ تُخَاطِبُ مِنْ ثَلَاث لَيَالٍ يَا أَبَا هُرَيْرَة قُلْت لَا قَالَ : ذَاكَ شَيْطَان رواه البخاري والنسائي .


آية الكرسي ربع القرآن

حَدَّثَنِي سَلَمَة بْن وَرْدَان أَنَّ أَنَس بْن مَالِك حَدَّثَهُ أَنَّ رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - سَأَلَ رَجُلًا مِنْ صَحَابَته فَقَالَ أَيْ فُلَان هَلْ تَزَوَّجْت ؟ قَالَ : لَا وَلَيْسَ عِنْدِي مَا أَتَزَوَّج بِهِ قَالَ أَوَلَيْسَ مَعَك : قُلْ هُوَ اللَّه أَحَد ؟ قَالَ بَلَى قَالَ " رُبُع الْقُرْآن " قَالَ " أَلَيْسَ مَعَك قُلْ يَا أَيّهَا الْكَافِرُونَ ؟ قَالَ بَلَى قَالَ رُبُع الْقُرْآن قَالَ أَلَيْسَ مَعَك إِذَا زُلْزِلَتْ ؟ قَالَ : بَلَى قَالَ رُبُع الْقُرْآن قَالَ أَلَيْسَ مَعَك إِذَا جَاءَ نَصْرُ اللَّه ؟ قَالَ بَلَى . قَالَ رُبُع الْقُرْآن قَالَ أَلَيْسَ مَعَك آيَة الْكُرْسِيّ اللَّه لَا إِلَه إِلَّا هُوَ ؟ قَالَ بَلَى قَالَ رُبُع الْقُرْآن .


اِسْم اللَّه الْأَعْظَم

عَنْ أَسْمَاء بِنْت يَزِيد بْن السَّكَن قَالَتْ : سَمِعْت رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - يَقُول فِي هَاتَيْنِ الْآيَتَيْنِ " اللَّه لَا إِلَه إِلَّا هُوَ الْحَيّ الْقَيُّوم " و" الم اللَّه لَا إِلَه إِلَّا هُوَ الْحَيّ الْقَيُّوم " إِنَّ فِيهِمَا اِسْم اللَّه الْأَعْظَم رَوَاهُ أحمد وأَبُو دَاوُد وَالتِّرْمِذِيّ وَابْن مَاجَهْ وَقَالَ التِّرْمِذِيّ : حَسَن صَحِيح.
عَنْ أَبِي أُمَامَة قال قال رسول الله صلى الهل عليه وسلم : اِسْم اللَّه الْأَعْظَم الَّذِي إِذَا دُعِيَ بِهِ أَجَابَ فِي ثَلَاث : سُورَة الْبَقَرَة وَآل عِمْرَان وَطَه وَقَالَ هِشَام وَهُوَ اِبْن عَمَّار خَطِيب دِمَشْق : أَمَّا الْبَقَرَة " اللَّه لَا إِلَه إِلَّا هُوَ الْحَيّ الْقَيُّوم" وَفِي آل عِمْرَان " الم اللَّه لَا إِلَه إِلَّا هُوَ الْحَيّ الْقَيُّوم" وَفِي طَه " وَعَنَتْ الْوُجُوهُ لِلْحَيِّ الْقَيُّومُ " . رواه ابن مردويه.


فَضْل قِرَاءَتهَا بَعْد الصَّلَاة الْمَكْتُوبَة

عَنْ أَبِي أُمَامَة قَالَ : قَالَ رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : مَنْ قَرَأَ دُبُر كُلّ صَلَاة مَكْتُوبَة آيَة الْكُرْسِيّ لَمْ يَمْنَعهُ مِنْ دُخُول الْجَنَّة إِلَّا أَنْ يَمُوت . هَكَذَا رَوَاهُ النَّسَائِيّ فِي الْيَوْم وَاللَّيْلَة وَأَخْرَجَهُ اِبْن حِبَّان فِي صَحِيحه مِنْ حَدِيث مُحَمَّد بْن حِمْيَر وَهُوَ الْحِمْصِيّ مِنْ رِجَال الْبُخَارِيّ أَيْضًا فَهُوَ إِسْنَاد عَلَى شَرْط الْبُخَارِيّ وَقَدْ زَعَمَ أَبُو الْفَرَج ابْنُ الْجَوْزِيّ أَنَّهُ حَدِيثٌ مَوْضُوعٌ وَاَللَّه أَعْلَم
__

ไม่มีความคิดเห็น: